วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

วิดีโอขั้นตอนการทำยาดมสมุนไพร

วิดีโอขั้นตอนการทำยาดมสมุนไพร



ขั้นตอน วิธีการทำยาดมสมุนไพร


ขั้นตอน วิธีการทำยาดมสมุนไพร ♥

ขั้นที่ 1   ขั้นเตรียมพิมเสนน้ำ     
            1
. นำส่วนผสมทั้ง  3 ชนิด  คือ เมนทอล  3 ส่วน พิมเสน  1 ส่วน   การบูร  1 ส่วนเทผสมรวมกันในภาชนะสำหรับผสมสาร
            2. ใช้ไม้พายเล็กคนให้ส่วนผสมทั้งหมดละลายเป็นของเหลว (ถ้าไม่ใช้ไม้คนอาจใช้วิธีการเขย่าขวดให้ส่วนผสมละลายก็ได้)
                3. นำพิมเสนที่ได้บรรจุขวดปากกว้างปิดฝาพักไว้

ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมสมุนไพร
          1.  นำสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ในที่นี้ประกอบด้วย กานพลู ดอกจันทน์เทศ   พริกไทยดำ โกศหัวบัว   กระวาน ใส่ภาชนะรวมกันผสมคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
                น้ำสมุนไพรที่ได้ใส่ในขวดปากกว้างที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ปิดฝาขวดให้สนิท
          3.  แช่สมุนไพรในพิมเสนน้ำ คืน
          4.  นำส่วนผสมที่ได้บรรจุในขวดมีฝาปิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

วัสดุ อุปกรณ์ในการทำยาดมสมุนไพร

วัสดุ อุปกรณ์ในการทำยาดมสมุนไพร



1. การบูรเกล็ด 1 ขีด
การบูรมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาว มีสรรพคุณ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง


2. เมนทอล 3 ขีด
เมนทอลมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว กลิ่นหอมเย็นมีสรรพคุณใช้เป็นยาภายนอกเกี่ยวกับการลดอาการปวดเมื่อย ฆ่าเชื้อ และใช้เป็นยาขับลม ที่ให้ความเย็นซาบซ่า


3. พิมเสน 1 ขีด พิมเสนมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น สรรพคุณของพิมเสน มีกลิ่นหอมเย็น ใช้สูตรดมแก้ลมวิงเวียน ทาภายนอกแก้เคล็ดขัดยอก


4. กานพลู 1 ขีด
 กานพลู มีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก มีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด


5. ดอกจันทน์เทศ 1 ขีด
  
ดอกจันเทศมีสรรพคุณ ใช้แก้ลม ขับลม แก้บิด บำรุงผิวหนัง


6. พริกไทยดำ 1 ขีด
 พริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย


7. โกฐหัวบัว 1 ขีด  โกฐหัวบัวสรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง ขับลมในลำไส้ ขับลม แก้ลม บำรุงโลหิต


8. กระวาน 2 ขีด
ฅ กระวานรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม มีฤทธิ์ในการขับลม และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต

ประโยชน์ของยาดมสมุนไพร




ประโยชน์ของยาดมสมุนไพร

1. ใช้สูดดม ยาดม ใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก
2. ทำเป็นของชำร่วย ใช้แจกในงายพิธีต่างๆ เช่น งานศพ
3. เป็นการเพิ่มรายได้หรือทำเป็นอาชีพเสริม
4. ช่วยในการสูดดมเพื่อผ่อนคลาย ทำให้สดชื่น

ที่มาของยาดมสมุนไพร



ที่มาของยาดมสมุนไพร

                       สมุนไพรนั้นอยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีการนำเอาสมุนไพรต่างๆ มาบำบัดรักษาโรค รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ สารพัด รวมทั ้งการทายาง่ายๆ เช่น ยาหม่อง ยาดม เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ และให้อาการต่างๆทุเลาเบาบางลงไปได้เป็นอย่างมาก การทายาหม่อง ยาดมไว้ใช้เองภายในครัวเรือนนั้น คนไทยส่วนมากสามารถที่จะทำได้ง่ายและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น สมควรที่คนรุ่นต่อๆ ไปจะอนุรักษ์ไว้ให้อยู่กับเราตลอดไป

ประโยชน์ของสมุนไพร


ประโยชน์ของสมุนไพร♥


1. ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย สมุนไพรในกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในตัว สามารถนำมาสกัดโดยวิธี นำมากลั่น ซึ่งจะมีกลิ่นและปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร สมุนไพรที่น้ำมันหอมระเหยที่รู้จัก กันดี ได้แก่ ตะไคร้หอม น้ำมันตะไคร้หอมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอม และสารไล่แมลง ไพล น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดการอักเสบฟกช้ำ กระวาน น้ำมันกระวนนใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ และอุตสาหกรรมน้ำหอม พลู น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรือเจลทาภายนอกแก้อาการคัน


2. ใช้เป็นยารับประทาน มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น ได้แก่ แก้ไข เจ็บคอ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร แก้ท้องอึด ท้องเฟ้อ กระเพรา ไพล ขิง ระงับประสาท ขี้เหล็ก ไมยราพ ลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม


3. ใช้เป็นยาทาภายนอก เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดโรคที่เกิดตามผิวหนัง รวมทั้งแผลที่เกิดในช่องปากได้แก่ รักษาแผลในปาก บัวบก หว้า โทงเทง ระงับกลิ่นปาก ฝรั่ง กานพลู แก้แพ้ ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน ตำลึง เท้ายายม่อม รักษาแผลน้ำร้อนลวก บัวบก ยาสูบ ว่านหางจรเข้ งูสวัด ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน

4.ใช้ทำเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเครื่องดื่มที่สกัดจากธรรมชาติที่ยังให้ประโยชน์ในการรักษาโรค ควบคู่ไปด้วย ได้แก่ บุก ให้ประโยชน์ในการดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก ส้มแขก ดูดไขมัน ลดน้ำหนัก หญ้าหนวดแมว ลดน้ำหนัก บำรุงสุขภาพ


5. ใช้ทำเครื่องสำอางค์ มีสมุนไพรหลายชนิดในปัจจุบันที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ และได้รับความ นิยมอย่างดี เนื่องจากผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมี ได้แก่ ว่านหางจรเข้ อัญชัน มะคำดีควาย โดยนำมา ใช้เป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู โลชั่นบำรุงผิว

6. ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช มักเป็นสมุนไพรจำพวกที่มีฤทธิ์เบื่อเมา หรือมีรสขม ข้อดีคือไม่มีฤทธิ์ตกค้าง ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม ไพล เป็นต้น


7. ใช้บริโภคเป็นอาหารและเครื่องเทศ สมุนไพรในกลุ่มนี้จัดว่าเป็นพืชผักสมุนไพร นั่นเองสามารถนำมารับประทาน ให้คุณค่าทางอาหาร เพิ่มรสชาติ ดับกลิ่นคาว และยังช่วยย่อยอาหาร ได้แก่ กระเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี สะระแหน่ ขิง ข่า กระชาย บางชนิดเป็นพืชผักสมุนไพรเมืองหนาว เช่น พาร์สเร่ย์ หรือผักชีฝรั่ง เฟนเนล (ผักชีลาว) เปบเปอร์มิ้นท์ ออริกาโน่ ทีม ไชฟ์ ดิล มาร์เจอร์แรม เซจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชพุ่มเตี้ย ใช้ส่วนของใบมาทานสด หรือแก้ง เป็นเครื่องเทศ ชูรส เป็นต้น

8.ปลอดภัย สมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อน ไม่เป็นพิษหรือมีอาการข้างเคียงมาก แตกต่างกับยาแผน ปัจจุบันที่บางครั้งจะมีฤทธิ์เฉียบพลันถ้าบริโภคเกินขนาดเพียงเล็กน้อยอาจเสียชีวิตได้ 


9. ประหยัด ราคาของสมุนไพรถูกกว่ายาแผนปัจจุบันมาก เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว จึง ควรอย่างยิ่งที่เราจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังช่วยกันลดดุลการค้าที่เสียบเปรียบต่างประเทศ เป็นการสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย


10. เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกล คนไข้ที่อยู่ตามชนบท บางครั้งไม่สามารถมารับบริการจากสถานบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ควรใช้สมุนไพรที่เชื่อถือได้รักษาโรค

11. ไม่ต้องกลัวปัญหาขาดแคลนยา ปัจจุบันมียาหลายตัวที่ทำมาจากวัตถุเคมีที่ได้จากผลิตผลของน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันน้ำมันก็เริ่มจะขาดแคลนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกระทบกระเทือนรวมไปถึงการรักษาโรค เราจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับยาสมุนไพรและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น


12. เป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรที่ใช้ในประเทศ และเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง และต้องคำนึงถึงผลผลิตที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำสำหรับการส่งออกในรูปของสารสกัด ทำให้ได้ราคาดีกว่าการส่งออกในรูปวัตถุดิบ


ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย :)

ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย ♥
ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืช นานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณเทือกเขา อัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้อาศัยคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน คือ การวินิจฉัยโรค ชื่อสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อย เช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น
มีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็น มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท (สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากนอกประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น ในปีพุทธศักราช 1800 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งนับเป็นยุคทองของสมุนไพรไทย สวนป่าสมุนไพรของพระองค์ใหญ่โตมากอยู่บนยอดเขาคีรีมาศ อ.คีรีมาส จ.สุโขทัย มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าสงวนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจ ต่อมาในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าสมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหารประจำครอบครัว ชาติจะเจริญมั่นคงได้ก็ด้วยครอบครัวเล็กๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ 

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้า ในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราช ดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษ ทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบันคนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพร เป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร